share

30 ปี คดีมหากาพย์โฮปเวลล์ (เรื่องนี้ถึงไหนแล้ว)

Last updated: 22 Jul 2023
136 Views
30 ปี คดีมหากาพย์โฮปเวลล์ (เรื่องนี้ถึงไหนแล้ว)

30 ปี โฮปเวลล์ (ภาคต่อ คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 241-243/2563)

จากเรื่องราวของคดีโฮปเวลล์ที่ เมื่อปี พ.ศ. 2562 ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เป็นให้ยกคำร้องของกระทรวงฯ และการรถไฟ และให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

เรื่องราวของคดียังไม่จบเนื่องจากหลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาแล้ว ต่อมาวันที่ 18 ก.ค. 62 กระทรวงคมนาคมและการรถไฟ มีหนังสือขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ โดยโต้แย้งในประเด็นดังต่อไปนี้

1.ข้อพิพาทที่โฮปเวลล์เสนอต่ออนุญาโตตุลาการอยู่ในขอบเขตอำนาจอนุญาโตตุลาการหรือไม่?

2.การเสนอข้อพิพาทของโฮปเวลล์เกินระยะเวลากฎหมายหรือไม่?

3.โต้แย้งการวินิจฉัยเหตุแห่งการเลิกสัญญากลัยคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. 391 และอ้างว่า สำนักนายกแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐาน “กรณีโฮปเวลล์” แล้วหากได้พยานหลักฐานใหม่จะนำเสนอต่อศาลปกครอง

4.โต้แย้งว่าศาลปกครองสูงสุดมิได้ย้อนสำนวนให้ศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีแต่กลับวินิจฉัยเสียเอง ถือว่าเป็นข้อบกพร่องในกระบวนการยุติธรรม

5.โต้แย้งความสามารถในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศ ของโฮปเวลล์ ขณะเข้าทำสัญญาตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับ 281 ลงวันที่ 24 พ.ย. 2515

จากคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของกระทรวงและการรถไฟนั้น เนื่องจากการจะขอให้ศาลปกครองพิจารณาคดีใหม่ได้จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2552 มาตรา 75 ซึ่งบัญญัติไว้ถึง กรณีที่ศาลปกครองได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีปกครองเสร็จเด็ดขาดแล้ว คู่กรณีหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียหรืออาจถูกกระทบจากผลแห่งคดีนั้นอาจมีคำขอให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีปกครองนั้นใหม่ได้

ศาลปกครองสูงสุดได้ ได้พิเคราะห์ในประเด็นต่างๆที่กระทรวงและการรถไฟโต้แย้งไว้เป็นแนวทางว่า

1.ประเด็นที่ 1 2 และ 3 ที่ศาลปกครองสูงสุดต้องวินิจฉัย คงมีเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เนื่องจากเป็นคำชี้ขาดที่กำหนดให้ กระทรวงและการรถไฟต้องปฏิบัติตาม ดังนั้นการที่ ศาลปกครองสูงสุด กำหนดประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า มีเหตุที่ศาลจะปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ หรือไม่ จึงถูกต้องตามเหตุแห่งการอุทธรณ์แล้ว การที่ศาลปกครองสุงสุด กำหนดปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการแรกว่า โฮปเวลล์ ยื่นข้อเรียกร้องต่ออนุญาโตเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นแล้วหรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่า การที่โฮปเวลล์ยื่นภานในกำหนดระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญานั้น เป็นการเสนอข้อพิพาทภายในระยะเวลาโดยชอบ ประการที่สอง การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่ โดยกำหนดปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามที่อนุญาโตตุลาการได้กำหนดประเด็นข้อพิาทไว้ 4 ประเด็นได้แก่ 1 ผู้ร้องเสนอข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการได้หรือไม่ 2 สิทธิเรียกร้องให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายหรือไม่ 3 สัญญาสัมปทานเลิกกันโดยปริยายหรือไม่ 4 กระทรวงและการรถไฟ กับ โฮปเวลล์ จะกลับคืนสู้ฐานเดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 หรือไม่เพียงใด นั้นเห็นว่า การกำหนดประเด็นพิพาทแห่งคดีและปัญหาทั้งหลายที่ต้องวินิจฉัยอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ตลอดจนการวินิจฉัยเกี่ยวกับระยะเวลาในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการที่กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่เป็นดุลยพินิจของศาลในการกำหนดประเด็นแห่งคดีและวินิจฉัยปัญหาตามรูปเรื่องข้อเท็จจริงแห่งคดี ข้ออ้างของกระทรวงและการรถไฟทั้งมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลยพินิจในการพิจารณาคดีของศาล แม้จะเป็นการแตกต่างไปจากความเห็นของ กระทรวงและการรถไฟ ก็ไม่ใช่เป็นกรณีที่ศาลฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดหรือทำให้กระบวนการพิจารณาคดีมีข้อผิดพลาดหรือทำให้กระบวนการพิจารณาคดีนั้นกลายเป็นกระบวนพิจารณาที่มีข้อบกพร่องสำคัญอันทำให้ผลของคดีไม่มีความยุติธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2552 มาตรา 75 วรรค 1 (1) (3) ข้ออ้างของกระทรวงและการรถไฟฟังไม่ขึ้น

2.ประเด็นที่ 4 การไม่ย้อนสำนวนให้ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณา ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า พิจารณาตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ ศาลปกครองสูงสุดกำหนดว่า อำนาจในการพิจารณาอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นโดยศาลสูงสุดให้รวมถึง เมื่อคดีปรากฏเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติหรือระเบียบนี้ในส่วนว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่ง และ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า มีเหตุอันควรใหัมีอำนาจยกคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นนั้นแล้วส่งสำนวนคืนไปศาลปกครองชั้นต้น เพื่อพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ บทบัญญัติดังกล่าวนี้ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดให้ศาลปกครองสูงสุดต้องมีคำสั่งยกคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่ได้ปฏิบัติตาม บทบัญญัติวิธีพิจารณาคดีปกครอง แล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลปกครองชั้นต้นเพื่อพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ทุกกรณี หากแต่เป็นดุลยพินิจของ ศาลปกครองสูงสุด คดีนี้ ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษา ศาลปกครองชั้นต้นได้แสวงหาข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลปกครองสูงสุดจะพิพากษาหรือมีคำสั่งได้แล้ว เพื่อประโยชน์ในประเด็นเนื้อหาแห่งคดี ศาลปกครองสูงสุด จึงเห็นสมควรพิจารณาเนื้อหาแห่งคดีนี้โดยไม่ส่งคืน ข้ออ้างของการรถไฟและกระทรวง ทั้งสอง ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

3.ประเด็นที่ 5 ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความสามารถของโฮปเวลล์เป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่ตั้งแต่ในขณะเข้าทำสัญญาโดยหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของโฮเวลล์เป็นเอกสารมหาชนที่เข้าตรวจสอบจากราชการได้ และหนังสือรับรองดังกล่าวต้องยื่นประกอบการลงนามสัญญา ประกอบกับกระทรวงและการรถไฟบรรยายฟ้องว่า คณะกรรมการรถไฟ มีมติให้การรถไฟมีอำนาจลงนามในสัญญาร่วมกับกระทรวง และให้โฮปเวลล์เข้าก่อสร้างและพัฒนาที่ดิน ตามสัญญาซึ่ง โฮปเวลล์ ได้จดทะเบียนขึ้นตามกฎหมายไทย ข้อความนี้บ่งชี้ได้ว่ากระทรวงและการรถไฟทราบดีว่าโฮปเวลล์มีบริษัทแม่จดทะเบียนในต่างประเทศ และสำหรับข้ออ้างที่ การรถไฟและกระทรวง พบว่ามีพยานหลักฐานใหม่เกี่ยวกับความสามารถของโฮปเวลล์ขณะเข้าทำสัญญา ว่าเป็นการดำเนินการของบุคคลต่างด้าวที่ฝ่าฝืนประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 เนื่องจากการจดทะเบียนของโฮปเวลล์ไม่ถูกต้อง โดยมติ ครม ไม่ได้มีมติให้ผู้คัดค้านได้รับการยกเว้น แม้ผู้คัดค้านได้รับการส่งเสริมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน แต่โฮปเวลล์ได้เข้าประกอบกิจการก่อนได้หนังสือรับรองจากอธิบดีกรมการค้า โดยกระทรวงและการรถไฟเพิ่งทราบข้อเท็จจริงจากคณะกรรมการตรวจสอบรวบรวมพยานหลักฐาน “กรณีโฮปเวลล์” ที่ตั้งขึ้นภายหลัง ศาลปกครองสูงสุด เห็นว่า ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความสามารถของโฮปเวลล์เป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่ขณะทำสัญญา และหนังสือดังกล่าวต้องยื่นขณะลงนามสัญญา ประกอบกับการรถไฟและกระทรวง บรรยายฟ้องว่า คณะกรรมการรถไฟ มีมติให้การรถไฟมีอำนาจลงนามในสัญญาร่วมกับกระทรวง และให้โฮปเวลล์เข้าก่อสร้างและพัมนาที่ดินตามสัญญาซึ่ง โฮปเวลล์ ได้จดทะเบียนขึ้นตามกฎหมายไทย ข้อความนี้บ่งชี้ได้ว่ากระทรวงและการรถไฟทราบดีว่า โฮปเวลล์มีบริษัทแม่จดทะเบียนในต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาในฐานะกระทรวงคมนาคม เป็นบุคคลที่อยู่ร่วมในคณะรัฐมนตรีย่อมต้องรู้ว่าโฮปเวลล์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะรัฐมาตรี ประกอบกับการรถไฟและกระทรวงได้ยอมรับในคำขอพิจารณาคดีใหม่ว่า โฮปเวลล์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและกรณีที่นิติบุคคลต่างด้าวจะประกอบกิจการตามที่ลงนามในสัญญาก่อน กระทรวงและการรถไฟไม่อาจปฏิเสธการไม่รู้ได้ อีกทั้งร่างสัญญานี้จะต่องผ่านการตรวจจากรมอัยการก่อนลงนาม กระทรวงและการรถไฟย่อมต้องตรวจสอบและต้องรู้หรือควรรู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวได้เอง การที่การรถไฟและกระทรวงไม่ตรวจสอบ อีกทั้งไม่เคยยกข้อเท็จจริงเช่นว่านี้สู้คดีมาก่อนในชั้นเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการและในศาลปกครอง จึงเป็นความบกพร่องของ การรถไฟและกระทรวง ดังนั้นเอกสารที่การรถไฟและกระทรวงกล่าวอ้างจึงไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2552 มาตรา 75 วรรค1 (1)

4.ข้ออ้างที่การรถไฟและกระทรวง ที่ว่า มีคำสั่ง สำนักนายกฯ แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบและรวมรวมพยานหลักฐาน กรณีโฮปเวลล์ ซึ่งหากได้พยานหลักฐานใหม่จะนำเสนอต่อศาลปกครอง เห็นว่า การรถไฟและกระทรวง รับในคำร้องอุทธรณ์คำสั่งว่าข้ออ้างนี้ไม่เกี่ยวกับประเด็นที่การรถไฟและกระทรวงขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ กรณีจึงไม่ต้องวินิจฉัย

ด้วยเหตุผลข้างต้น ศาลปกครองสูงสุดจึงยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้พิจารณา

บทความที่เกี่ยวข้อง
ปมคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กับคดีโฮปเวลล์
ข่าวใหญ่เกี่ยวกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับคดีโฮปเวลล์ อันเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างกฎหมายปกครองและกฎหมายรัฐธรรมนูญ
มหากาพย์คดีโฮปเวลล์  ตอน คำสั่งยกคำของดหรือทุเลาการบังคับคดี
คำสั่งยกคำร้องของศาลปกครองกลางคดีโฮปเวลล์ (มหากาพย์ โฮปเวลล์  ตอน คำสั่งยกคำของดหรือทุเลาการบังคับคดี) ภายหลังจากมีคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
มหากาพย์โฮปเวลล์ คดีประวัติศาสตร์งานก่อสร้าง
มหากาพย์โฮปเวลล์ ระหว่าง ผู้ร้องที่ 1 คือ กระทรวงคมนาคม ผู้ร้องที่ 2 คือ การรถไฟ ผู้คัดค้านคือ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy